กลุ่มเยาวชนรักษ์อีสาน

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

(pic3m2) 2010329_77513.jpg

 "บ้านนอก"

 "วิถีแห่งรากเหง้าอันงดงาม....บนความสุขและความพอเพียง"

 

          (pic2) 20091213_66417.jpg

    เยาวชนกลุ่มรักษ์อีสานร่วม เรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียงของชาวส่วย

          (pic2) 20091213_66496.jpg

     ศึกษาเรียนรู้ภาษาไทดำจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านนาป่าหนาด

          (pic2) 20091213_66524.jpg

   ศึกษาเรียนรู้ภาษาญัฮกุร(มอญโบราณ)ที่บ้านกลางพัฒนา

          (pic2) 20091213_68085.jpg

  ศึกษาเรียนรู้ภาษากะเลิงจาก  ผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านบัว     อ.กุดบาก

(pic2) 2010329_7700.jpg

จัดงาน "Koollywood  ฟื้นถิ่น..ศิลป์โคราช" เพื่อฟื้นฟูชุมชนลิเก (ชุมชนสวายเรียง) ของโคราช

(pic2) 2010423_37387.jpg

ร่วมงานแถลงข่าวเปิดโครงการตลาดประกอบฝัน 4

 

 

  


      (pic2) 20091213_68496.jpg      (pic2) 20091213_68528.jpg       (pic2) 20091213_68559.jpg      (pic2) 20091213_68592.jpg      (pic4) 2010330_731.jpg 

       รักษ์อีสาน หมายถึง การอนุรักษ์ สืบทอด พัฒนา ให้ความเป็นภาคอีสานยังคงอยู่ต่อไป ทั้งภูมิปัญญา ภาษา วัฒน  ธรมม ประเพณีท้องถิ่น วิถีชีวิต อันเป็นเอกลักษ์ที่แสดงถึงความพอเพียง ความเอื้อเฟื้อแบ่งปัน และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข บ่งบอกถึงความเป็นคนอีสานและภาคอีสาน

      กลุ่มรักษ์อีสาน คือ การรวมตัวของกลุ่ม เครือข่าย ที่ดำเนินงานด้านเด็ก เยาวชน สังคม หลายๆเครือข่าย เพื่อดำเนินการอนุรักษ์ สืบทอด พัฒนา และเผยแพร่ความเป็นอีสาน ให้ยังคงอยู่คู่คนอีสาน ซึ่งเครือข่ายเหล่านี้อาจมีข้อจำกัดในการดำเนินงานในพื้นที่ สถาบัน หน่วยงาน หรือสังกัดของตนเอง "กลุ่มรักษ์อีสาน" จึงเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อขยายการดำเนินงานให้มีความเป็นอิสระและกว้างขึ้น กับสิ่งดีๆที่ทุกคนอยากร่วมกันทำเพื่อภาคอีสานของเรา โดยอาศัยประสบการณ์เดิมและความถนัดของแต่ละกลุ่มมาร่วมกันทำงาน เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งดีๆขึ้นกับภาคอีสาน กระตุ้นให้เด็กและเยาวชนมีความภาคภูมิใจในรากเหง้า รักและหวงแหนในถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง

      อีสานภาษาสัมพันธ์ หมายความถึง ภาคอีสานนอกจากภาษา "ลาว" ซึ่งเป็นที่รุ้จักกันโดยทั่วไปแล้วนั้น ยังมีภาษาถิ่นในภาคอีสานอีกจำนวนมากที่มีการนำมาใช้พูดคุยสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน แตกต่างกันออกไปตามสภาพพื้นที่และถิ่นกำเนิด และยังมีการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างภาษาถิ่นแต่ละภาษาอยู่เสมอ ซึ่งบางภาษาอาจมีต้นกำเนิดมาจากภาษาเดียวกัน หรืออาจเกิดภาษาใหม่จากภาษาเดิมที่มีการใช้อยู่ พูดได้ว่าภาษาถิ่นเหล่านี้สร้างความสัมพันธ์ มีความเกี่ยวพันในการดำเนินชีวิตของคนแต่ละถิ่นแต่ละภาษาซึ่งกันและกันมาโดยตลอด "อีสานภาษาสัมพันธ์" จึงหมายถึง ความสัมพันธ์กันของภาษาถิ่นอีสานที่มีความหลากหลาย(ร่ายยาวให้งงเล่นเฉยๆ)

      โครงการอีสานภาษาสัมพันธ์ เป็นโครงการที่กลุ่มเราเล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาถิ่นอีสานที่มีความหลากหลายและกำลังจะสูญหายไป เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป ภาษานิยมใหม่ๆของวัยรุ่นที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่นิยมและละทิ้งการพูดจาภาษาถิ่นของตน จึงทำให้ภาษาถิ่นอีสานหลายภาษาเริ่มสูญหายไป บางภาษาเหลือการใช้พูดคุยไม่ถึง 1% "โครงการอีสานภาษาสัมพันธ์" จึงจัดขึ้นเพื่อศึกษาเรียนรู้ อนุรักษ์ สืบทอด และเผยแพร่ภาษาถิ่นในภาคอีสานจำนวน 15 ภาษา คือ ลาว เขมร ส่วย เยอ มอญ ญวน โคราช ญัฮกุร ผู้ไท ย้อ โย้ย กะเลิง โส้ ไทเลย ไทดำ ผ่านสื่อในรูปแบบ ตำรา โปรแกรม ละคร เว็บไซต์ เป็นการสร้างสรรค์สิ่งเก่าประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้ภาษาถิ่นยังคงอยู่กับคนอีสานต่อไป รวมทั้งเป็นการใช้เทคโนโลยี ไปในทางที่สร้างสรรค์อีกด้วยเจ้าค่ะ

(pic2) 20091213_68632.jpg


(pic2) 20091213_72331.gif


      (pic2) 2010329_3277.jpg      (pic2) 2010329_3299.jpg      (pic2) 2010329_3318.jpg      (pic2) 2010329_3360.jpg     (pic2) 2010329_3338.jpg

"งาน Kollywood ฟื้นถิ่น...ศิลป์โคราช"

              จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรม หัตถกรรม และ ดนตรี และย้อนไป 60 ที่ผ่านมา คณะลิเกคณะแรกได้เดินทางมาตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดนครราชสีมา โดยมีแม่เสงี่ยมเป็นเจ้าของวิก คนแรก และลิเกคณะครูบุญยัง เกตุคง ศิลปินแห่งชาติ เป็นคณะลิเกที่มีแฟนประจำมากมาย ทำให้เกิดคณะลิเกต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมา ขึ้นอีกกว่า 300 คณะ 

                       แต่ปัจจุบัน ความนิยมดูลิเกของคนไทยได้เปลี่ยนแปลงไปมาก จนเป็นเหตุให้คณะลิเกในปัจจุบัน เหลือเพียง 60 กว่าคณะและไม่มีวิกให้เล่นประจำเช่นในอดีต โดยลิเกส่วนใหญ่อาศัยอยู่รวมกันในย่านสวายเรียง ถนนมุขมนตรี อ.เมือง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งในบริเวณดังกล่าวอยู่ใกล้กับที่ตั้งของสถานีรถไฟจังหวัดนครราชสีมา ที่เป็นเป้าหมายในการทิ้งระเบิดของกลุ่มสัมพันธมิตร ในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 ยังคงมีร่องรอยการถูกโจมตีทางอากาศ เป็นเหตุให้เกิดเรื่องราวน่าสนใจในเชิงประวัติศาสตร์มากมาย

                    เครือข่ายเพื่อสังคมโคราช(CSR Korat) มีความตั้งใจจะฟื้นฟู ศิลปะการแสดง ลิเก ให้กลับมาเป็นที่นิยมของชาวจังหวัดนครราชสีมา เมื่อได้เริ่มทำงานในระยะแรก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสถานที่ดังกล่าวในเชิงประวัติศาสตร์อีกด้านหนึ่งด้วย จึงเกิดประกายในการจัดกิจกรรม “Kollywood :  ฟื้นถิ่นศิลป์โคราช” ขึ้น เพื่ออนุรักษ์ศิลปะการแสดงลิเกของชาวโคราช และฟื้นฟูสถานที่ประวัติศาสตร์ ของชาวจังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลท้องถิ่นและสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดนครราชสีมาต่อไป

                      สำหรับกิจกรรม "บ้านเยาวชน" กลุ่มรักษ์อีสานจึงจำลองวิถีชีวิต ภูมิปัญญา ความเป็นอยู่ของคนอีสาน และการเรียนรู้ภาษาถิ่นหลายๆภาษาในภาคอีสานผ่าน พาชนะเครื่องใช้ เครื่องจักรสาน พืชผักพื้นถิ่น รวมทั้งกิจกรรมวาดภาพระบายสี ศิลปะการโรยทราย ศิลปะจากเมล็ดพืช ที่ช่วยเชื่อมโยงให้คนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติศาสนา ได้ร่วมทำกิจกรรมอย่างกลืมกลืน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ภายใต้ความแตกต่างเหล่านั้น และเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศงานลิเก กลุ่มรักษ์อีสานจึงมีการสอนทำหุ่นนิ้วมืออีกด้วย ซึ่งเราเปลี่ยนจากหุ่นนิ้วมือธรรมดา มาเป็นหุ่นนิ้วมือลิเกแทน โดยนำวัสดุที่สามาหาได้มาใช้ในการทำ

                                                           (pic2) 2010329_3255.jpg      (pic2) 2010329_3401.jpg      (pic2) 2010329_3381.jpg

 

 (pic3m2) 2010329_6909.gif

 




Bookmark and Share

Forum Names Topics Last Post
General Zone
ภูมิปัญญา
พูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
1 14/12/2552 0:08:00
by นกน้อย
in เคยทบทวนความเป็นลูกหลานอีสานหรือยัง
ภาษาถิ่น
พูดคุยแลกเปลี่ยนภาษาถิ่น
สำหรับสมาชิกเท่านั้น
1 24/12/2552 12:06:00
by นกน้อย
in สาระภาษาถิ่น
วัฒนธรรม ประเพณี
พูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น
0

แสดงกระทู้ล่าสุด  
สาระภาษาถิ่น
ภาษาถิ่นวันนี้ นำเสนอ คำว่า กินข้าว (ภาษาพูด)ลาว = กิ๋นเข่าเขมร = โฮบบาย,ซีบายส่วย = จาโดยวันหน้าจะเอาภาษาอื่นของ คำว่า กินข้าว มาฝากเด้อ...
  นกน้อย1106324/12/2552 12:06
เคยทบทวนความเป็นลูกหลานอีสานหรือยัง
เพื่อนๆเยาวชน เคยทบทวนความเป็นลูกหลานอีสานหรือยัง...ลองดูเด้อ (อันนี้แค่เรื่องของภูมิปัญญา)1.  5 อันดับแรกกับภูมิปัญญาที่เรารู้จัก ...2.  5 อันดับกับภูมิปัญญาที่เราทำได้3.  5 อันดับกับภูมิปัญาที่เราเอามาใช้ในชีวิตประจำวันผ่านด่านภูมิปัญญ เอาไปก่อน 5 คะแนน........นกน้อย
  นกน้อย0138514/12/2552 00:08
อ่านทั้งหมด ...

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 23,646 Today: 3 PageView/Month: 80

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...