กลุ่มเยาวชนรักษ์อีสาน

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

สาระนำมาฝากวันนี้  ขอชวนเพื่อนๆเข้ามาเรียนรู้ภาษา "ญัฮกุร" ค่ะ  

            (pic4) 2010328_82768.jpg  (pic4) 2010328_82820.jpg   (pic4) 2010328_82722.jpg

                ภาษา "ญัฮกุร" หรือ มอญโบราณ

               คำว่า ญัฮ แปลว่า "คน" คำว่า กุร แปลว่า "ภูเขา" จากความหมายของชื่อ คงจะทำให้เรารู้ได้แล้วว่า ชนกลุ่มนี้เป็นคนที่อาศัยอยู่ในป่าบนภูเขา ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกว่าชาวบนหรือคนดง แต่เจ้าของถิ่นเองจะเรียกออกเสียง"ชะบน"  เรื่องราวที่น่าสนใจของชาวญัฮกุรจึงมีเรื่องราวของป่าเข้าไปปะปนด้วยอย่างไม่อาจแยกออกจากกัน

               แต่เดิมนั้น ชาวญัฮกุรเป็นพรานป่า มักย้ายถิ่นที่อยู่ไปเรื่อยๆ เคยอาศัยอยู่บริเวณป่าแถบเทือกเขาพังเหย ซึ่งมีอาณาบริเวณคาบเกี่ยวต่อเนื่องกันถึง 3 จังหวัด คือเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ และนครราชสีมา ซึ่งปัจจุบันก็ยังพบชาวญัฮกุรได้ใน 3 เขตจังหวัดนี้ ตรงบริเวณใจกลางของประเทศไทย โดยอยู่บนขอบที่ราบสูงโคราชและพื้นที่ราบสูงในจังหวัดชัยภูมิ ที่ต่อกับภาคเหนือและต่อกับจังหวัดลพบุรี แต่พบในจำนวนที่ลดลง เนื่องจากการถูกกลืนโดยคนไทยเบิ้งหรือไทยโคราชและคนลาวอีสานที่เข้าไปอยู่อาศัยปะปนและมีการย้ายถิ่นฐานกระจัดกระจายไปบ้าง สำหรับจังหวัดชัยภูมินั้น ที่อำเภอเทพสถิตนับเป็นจุดที่ยังมีชาวญัฮกุรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านวังอ้ายโพธิ์ บ้านวังอ้ายคง บ้านน้ำลาด บ้านเสลี่ยงทอง บ้านไร่ บ้านวังตาเทพ บ้านท่าโป่ง บ้านโคกสะอาด บ้านสะพานหิน บ้านวังกำแพง ฯลฯ ส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ พบที่บ้านน้ำเลา บ้านห้วยไคร้ บ้านท่าด้วง ในเขตอำเภอเมือง รวมทั้ง 3 จังหวัด พบว่ามีชาวญัฮกุรหลงเหลืออยู่เพียง 23 หมู่บ้าน หรือประมาณ 6,000 คน เท่านั้น ทั้งประเทศไทยเหลืออยู่ไม่ถึง 1 %

              นี่กระมังคะ ภาษาของชาวญัฮกุรที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตกาล ความน่าสนใจของภาษาญัฮกุรได้ดึงดูดให้นักภาษาศาสตร์ทำการสืบค้นจนพบว่า ภาษา     ญัฮกุรเป็นภาษาเดียวกับภาษามอญโบราณที่ปรากฏอยู่ในจารึกสมัยทวารวดีเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว จึงน่าเชื่อได้ว่า ชาวญัฮกุรน่าจะเป็นลูกหลานของคนสมัย    ทวารวดีที่ยังหลงดหลืออยู่ถึงปัจจุบัน เป็นกลุ่มสุดท้ายในเอเซียอาคเนย์ และเป็นกลุ่มสุดท้ายในโลก  อาจเป็นเพราะถิ่นที่อยู่ของชาวญัฮกุรอยู่ตรงใจกลางของประเทศไทยพอดี ไม่ได้มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอื่นใด หรืออาจเป็นเพราะถิ่นที่อยู่ของชาวญัฮกุรคือผืนป่าบนภูเขาสูง จึงไม่ได้ถูกกลืนทางวัฒนธรรมและล่มสลายไปพร้อมกับกลุ่มชนในอาณาจักรทวารวดีที่อาศัยอยู่ในที่ราบ จึงทำให้ชาวญัฮกุรสามารถสืบทอดชาติพันธุ์มาได้นับพันๆปี แต่ท้ายที่สุดก็ไม่อาจต้านทานกระแสความเจริญในยุคโลกาภิวัฒน์ได้

              "คนเฒ่าคนแก่ เขาก็ยังพูดภาษาญัฮกุรกันอยู่บางคนพูดไทยไม่ได้ด้วยซ้ำ ส่วนรุ่นลูก็พูดได้ทั้งภาษาไทยและญัฮกุร แต่เด็กรุ่นใหม่ๆ นี่สิ พูดไทยกันหมดแล้ว " ด้วยความที่ชาวญัฮกุรมีแต่ภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน ประกอบกับในระยะหลังมีกลุ่มคนไทยโคราช คนไทยจากลพบุรี และคนลาวอีสาน เข้ามาอยู่ปะปนมากขึ้นเรื่อยๆ ภาษาของชาวญัฮกุรจึงมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาษาไทยโคราชและภาษาลาวมากขึ้น

              นับว่าภาษาญัฮกุรกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤติที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนลูกหลานชาวญัฮกุร หากไม่มีการพูดคุยสืบทอดแล้ว ภาษาญัฮกุรที่เต็มเปี่ยมด้วยความงดงามไพเราะ สื่อถึงวิถีแห่งความเป็นอยู่อย่างพอเพียงและสงบสุข ก็อาจจะสูญหายไปในที่สุด เฉกเช่นกับอีกหลายๆภาษาที่หายไปจากสังคมไทย ดังนั้นฝากถึงคุณปู่ คุณย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ขอให้พูดภาษาญัฮกุรกับลูกหลาน ถ่ายทอด บอกเล่า ส่วนลูกหลานเองก็ควรฝึกพูด เรียนรูื และสืบทอดให้ภาษายัฮกุรยังคงอยู่คู่กับเราต่อไป อนาคตแห่งรากเหง้าฝากอยู่ที่เราแล้วนะคะ ไม่ได้ฝากไว้ที่นักวิจัย หรือนักภาษาศาสตร์ กลุ่มคนเหล่านั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยเรารื้อฟื้น เก็บรักษาอนุรักษ์ เป็นลายลักษณ์อักษรให้ได้ศึกษาต่อๆกันมา แต่หากลูกหลานแห่งรากเหง้าอย่างเราๆไม่ตระหนักถึงความสำคัญ ไม่ภาคภูมิใจหรือหวงแหนในราหเหง้าของเราเอง ต้นฉบับที่แท้จริงก็จะไม่มีอยู่ในแผ่นดินไทย แผ่นดินโลก ก็จะกลายเป็นเพียงตำนานที่หลงเหลือจากการศึกษาและเก็บบันทึกของนักวิจัยและนักภาษาศาสตร์เพียงเท่านั้นเอง

                                         (pic4) 2010328_82855.jpg   (pic4) 2010328_82885.jpg                                                                            

                                                                                                    ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ "ญัฮกุร มอญโบราณแห่งเทพสถิต" จาก

                                                                                      ผู้จัดทำและคณะวิจัย ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษา-วัฒนธรรมในภาวะวิกฤติ สถาบันวิจัย

                                                                                      ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

                                                                                      ลงข้อมูลในเว็บไซต์ โดย นกน้อย  กลุ่มรักษ์อีสาน

                                                                                     

Advertising Zone    Close

Online: 2 Visits: 23,688 Today: 4 PageView/Month: 48

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...